
ต๊ะ - ปรัช เกียรติพงษ์สาร
Planner
ประวัติการศึกษา
ป.โท Business and Managerial Economics (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ป.ตรี นิเทศศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อาชีพหลัก ณ ปัจจุบัน
นักวางแผนการเงินอิสระ
เหตุผลที่เข้าร่วมทีม Avenger Planner
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียน อาจเป็นเพราะจริงๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากขนาดนั้น ในเมื่อทุกคนก็รู้จักรายรับ-รายจ่ายของตัวเองดี แต่เมื่อได้ลองถามคนรอบตัว กลับพบว่ามีน้อยคนที่ได้เริ่มวางแผนและรู้จักเรื่องการเงินของตัวเองอย่างแท้จริง และแทบไม่มีใครเลยที่มั่นใจ จนกล้าบอกได้ว่ากำลังเดินมาถูกทาง
แผนการเงินที่ดีนั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าแผนที่ “ครอบคลุม” และตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ผมเริ่มสนใจวางแผนการเงินส่วนบุคคลครั้งแรก ตอนที่อยากซื้อกองทุน RMF เพื่อลดหย่อนภาษี จึงถามตัวเองว่า “ซื้อกองไหนดี” และได้เริ่มศึกษาข้อมูลผ่านทางช่อง A-Academy บน YouTube
คำถามนั้นพาผมเข้ามาสู่โลกการเงินใบใหญ่ และชวนให้ผมตั้งคำถามอื่นตามมา เช่น เราเลือกลงทุนในอะไรได้บ้าง ? แต่ละสินทรัพย์มีศักยภาพที่จะเติบโตได้แค่ไหน ? แล้วเรื่องความเสี่ยงล่ะ ? บลจ. ไหนบ้างที่บริหารสินทรัพย์นั้นได้ดีอย่างต่อเนื่อง ? กองทุนไหนที่มีผลตอบแทนและความผันผวนที่เรารับได้ ? แล้วเราจะซื้อเท่าไรดี ? ซื้อจำนวนนี้จะได้ภาษีคืนเท่าไร ? แล้วจะเอาภาษีที่ได้คืนไปลงทุนต่อหรือใช้ทำอะไรดี ? ฯลฯ
หลังจากนั้นผมจินตนาการต่อว่ากองทุนที่ซื้อไป มันควรไปอยู่ส่วนไหนบนแผนการเงินของเรา ถ้า RMF ขายได้ตอนอายุ 55 ตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่ จะมีชีวิตแบบไหน จะถอนเงินไปใช้ทำอะไร เราจะเกษียณอยู่บ้านเฉยๆ หรือนำเงินไปสร้างธุรกิจใหม่ดี เราควรซื้อกองทุนอื่นหรือสินทรัพย์อื่นเพิ่มเติมไปในกองทุนระยะยาวนี้ไหม แล้วพอร์ตนี้ควรมีผลตอบแทนและความเสี่ยงมาก-น้อยแค่ไหนล่ะถึงจะเหมาะสม
เมื่อผมเลือกได้ว่าจะซื้อกองทุนอื่นเพิ่ม มันก็นำผมกลับมาสู่คำถามแรก คือเราเลือกลงทุนในอะไรได้บ้าง และมีสินทรัพย์อะไรอีกบ้างที่ผมจะลงทุนได้
คำตอบที่ได้จากการถามตัวเองแบบนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นมาก ผมเห็นแล้วว่าการวางแผนการเงินแบบ “องค์รวม” มีความสำคัญมากแค่ไหน เพราะคำถามการเงินเพียงคำถามเดียวนั้น สามารถร้อยเรียงเชื่อมต่อจนกลายเป็นแผนที่ทางการเงินแผ่นใหญ่ของเราได้ และยังเป็นแผน ที่ยึดโยงกับแผนที่ชีวิตของเราอย่างแยกไม่ออก
ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมทีม Avenger Planner เพราะทีมนี้มีองค์ความรู้ ที่สามารถตอบคำถามของผมได้ทุกข้อ เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการ “ลงมือ” วางแผนการเงินให้ผู้คนจริงๆ เป็นองค์ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงทุกเป้าหมายเข้าไว้ด้วยกันจนออกมาเป็นแผนที่จับต้องได้ ปฏิบัติตามได้ เน้นเรื่องความเสี่ยงควบคู่ไปกับผลตอบแทน และวางอยู่บนแก่นความเชื่อเรื่องความพอดี
ผมเชื่อว่าประสบการณ์และองค์ความรู้ของทีม Avenger Planner จะช่วยให้ผมสามารถออกแบบแผนที่ทางการเงินแผ่นใหญ่ให้ลูกค้าเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างอุ่นใจ และสามารถสร้างแผนที่ “ครอบคลุม” ทุกรายละเอียดของเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
ป.โท Business and Managerial Economics (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ป.ตรี นิเทศศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อาชีพหลัก ณ ปัจจุบัน
นักวางแผนการเงินอิสระ
เหตุผลที่เข้าร่วมทีม Avenger Planner
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียน อาจเป็นเพราะจริงๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากขนาดนั้น ในเมื่อทุกคนก็รู้จักรายรับ-รายจ่ายของตัวเองดี แต่เมื่อได้ลองถามคนรอบตัว กลับพบว่ามีน้อยคนที่ได้เริ่มวางแผนและรู้จักเรื่องการเงินของตัวเองอย่างแท้จริง และแทบไม่มีใครเลยที่มั่นใจ จนกล้าบอกได้ว่ากำลังเดินมาถูกทาง
แผนการเงินที่ดีนั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าแผนที่ “ครอบคลุม” และตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ผมเริ่มสนใจวางแผนการเงินส่วนบุคคลครั้งแรก ตอนที่อยากซื้อกองทุน RMF เพื่อลดหย่อนภาษี จึงถามตัวเองว่า “ซื้อกองไหนดี” และได้เริ่มศึกษาข้อมูลผ่านทางช่อง A-Academy บน YouTube
คำถามนั้นพาผมเข้ามาสู่โลกการเงินใบใหญ่ และชวนให้ผมตั้งคำถามอื่นตามมา เช่น เราเลือกลงทุนในอะไรได้บ้าง ? แต่ละสินทรัพย์มีศักยภาพที่จะเติบโตได้แค่ไหน ? แล้วเรื่องความเสี่ยงล่ะ ? บลจ. ไหนบ้างที่บริหารสินทรัพย์นั้นได้ดีอย่างต่อเนื่อง ? กองทุนไหนที่มีผลตอบแทนและความผันผวนที่เรารับได้ ? แล้วเราจะซื้อเท่าไรดี ? ซื้อจำนวนนี้จะได้ภาษีคืนเท่าไร ? แล้วจะเอาภาษีที่ได้คืนไปลงทุนต่อหรือใช้ทำอะไรดี ? ฯลฯ
หลังจากนั้นผมจินตนาการต่อว่ากองทุนที่ซื้อไป มันควรไปอยู่ส่วนไหนบนแผนการเงินของเรา ถ้า RMF ขายได้ตอนอายุ 55 ตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่ จะมีชีวิตแบบไหน จะถอนเงินไปใช้ทำอะไร เราจะเกษียณอยู่บ้านเฉยๆ หรือนำเงินไปสร้างธุรกิจใหม่ดี เราควรซื้อกองทุนอื่นหรือสินทรัพย์อื่นเพิ่มเติมไปในกองทุนระยะยาวนี้ไหม แล้วพอร์ตนี้ควรมีผลตอบแทนและความเสี่ยงมาก-น้อยแค่ไหนล่ะถึงจะเหมาะสม
เมื่อผมเลือกได้ว่าจะซื้อกองทุนอื่นเพิ่ม มันก็นำผมกลับมาสู่คำถามแรก คือเราเลือกลงทุนในอะไรได้บ้าง และมีสินทรัพย์อะไรอีกบ้างที่ผมจะลงทุนได้
คำตอบที่ได้จากการถามตัวเองแบบนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นมาก ผมเห็นแล้วว่าการวางแผนการเงินแบบ “องค์รวม” มีความสำคัญมากแค่ไหน เพราะคำถามการเงินเพียงคำถามเดียวนั้น สามารถร้อยเรียงเชื่อมต่อจนกลายเป็นแผนที่ทางการเงินแผ่นใหญ่ของเราได้ และยังเป็นแผน ที่ยึดโยงกับแผนที่ชีวิตของเราอย่างแยกไม่ออก
ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมทีม Avenger Planner เพราะทีมนี้มีองค์ความรู้ ที่สามารถตอบคำถามของผมได้ทุกข้อ เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการ “ลงมือ” วางแผนการเงินให้ผู้คนจริงๆ เป็นองค์ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงทุกเป้าหมายเข้าไว้ด้วยกันจนออกมาเป็นแผนที่จับต้องได้ ปฏิบัติตามได้ เน้นเรื่องความเสี่ยงควบคู่ไปกับผลตอบแทน และวางอยู่บนแก่นความเชื่อเรื่องความพอดี
ผมเชื่อว่าประสบการณ์และองค์ความรู้ของทีม Avenger Planner จะช่วยให้ผมสามารถออกแบบแผนที่ทางการเงินแผ่นใหญ่ให้ลูกค้าเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างอุ่นใจ และสามารถสร้างแผนที่ “ครอบคลุม” ทุกรายละเอียดของเป้าหมายได้อย่างแท้จริง