สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
หลังจากที่ใน บทความก่อนหน้านี้ ผมได้ชวนทุกท่านมาร่วม ทบทวนและจัดการความเสี่ยงส่วนบุคคลเนื่องจากวิกฤต COVID-19 กันไปแล้ว
วันนี้ผมจะมาชวนทุกท่าน วางแผนการจัดการรายจ่ายให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่รายได้ของหลายๆ ท่านอาจจะลดลงในช่วง COVID-19 นี้
และหลักการเดียวกันนี้เอง ยังสามารถประยุกต์ใช้กับวิกฤติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยครับ
ผลกระทบต่อรายได้จาก COVID-19
จากนโยบายหลายอย่างที่ภาครัฐประกาศใช้ เช่น
ส่งผลให้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วงที่ผ่านมาลดลงจากหลักร้อยคนต่อวัน เหลือเพียงหลักสิบคนต่อวัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้นนะครับ
แต่นโยบายดังกล่าวก็ส่งผลกระทบกับการทำงาน ทำให้รายได้ของหลายๆ ท่านลดลงด้วย จากหลายสาเหตุ เช่น
ทั้งนี้ เมื่อรายรับลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่อรายจ่ายที่เราวางแผนไว้ จึงเป็นที่มาของการชวนให้ทุกท่านมาปรับปรุงแผนการใช้จ่ายในบทความนี้กันครับ
รู้จักประเภทของรายจ่ายกันก่อน
ก่อนจะมาดูกันว่า จะปรับแผนรายจ่ายอย่างไร ผมขออธิบายถึงประเภทของรายจ่ายก่อนนะครับ
โดยหลักๆ จะมี 3 ประเภท ได้แก่
ปรับลดรายจ่ายอย่างไร ?
เมื่อรายได้ลดลง เราจำเป็นต้องลดรายจ่ายตามลงมาด้วย เพื่อไม่ให้กระแสเงินสดติดลบ จากการที่รับเข้าน้อยกว่าจ่ายออก
เพราะหากกระแสเงินสดติดลบแล้ว อาจจะเกิดการกู้หนี้ยืมสินตามมาเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม
ซึ่งในสถานการณ์ปกตินั้น นักวางแผนการเงินมักจะแนะนำว่า
รายรับ – เงินออม = รายจ่าย
คือเน้นให้ออมเพื่อเป้าหมายก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายจากเงินที่เหลือ
แต่ในสถานการณ์ผิดปกติ เช่นการที่รายได้ลดลงกระทันหันนั้น
รายจ่ายเพื่อการออมอาจเป็นรายจ่ายรายการแรกๆ ที่จะถูกพิจารณาปรับเปลี่ยนเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ก่อน
ปรับรายจ่ายเพื่อการออม
โดยก่อนปรับเปลี่ยนนั้น เราจะต้อง จัดลำดับความสำคัญ ของเป้าหมายการออมกันก่อน โดยจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ครับ
รายจ่ายที่สามารถปรับลดลงได้อีก ถัดจากรายจ่ายเพื่อการออม คือรายจ่ายกลุ่มที่พอจะปรับเปลี่ยนได้ง่ายรองลงมา นั่นคือ “รายจ่ายผันแปร” ครับ
Need VS Want
เนื่องจากรายจ่ายผันแปรขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิต ทำให้เราสามารถประหยัดได้จากการควบคุม และระมัดระวังในการใช้จ่ายครับ
นั่นคือต้องคิดก่อนจ่ายมากขึ้น ว่าสิ่งใดคือสิ่งจำเป็น (Needs) สิ่งใดเป็นแค่ความต้องการ (Wants)
ในสถานการณ์เช่นนี้ เราจะพยายามจ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็น และลดหรือเลี่ยงการจ่ายเพื่อความต้องการลง
หากทำได้ ก็อาจจะสามารถลดรายจ่ายลง ส่งผลให้เดิมเงินจำนวนเท่ากันอาจจะพอใช้เพียงแค่หนึ่งเดือน แต่หลังปรับอาจจะใช้ได้นานขึ้น เป็นเดือนครึ่งเป็นต้น
ทั้งนี้หากปรับรายจ่ายสองกลุ่มข้างต้นแล้ว ยังหนีไม่พ้นการติดลบ เราจำเป็นต้องมาปรับรายจ่ายกลุ่มสุดท้ายที่ปรับได้ค่อนข้างยาก นั่นคือ “รายจ่ายคงที่”
Fixed Cost = รายจ่ายคงที่ หรือ รายจ่ายที่ได้รับการแก้ไขแล้ว
แม้จะเป็นรายการที่ปรับเปลี่ยนได้ยากที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะจัดการไม่ได้ครับ
เพราะคำว่า “Fixed” ในภาษาอังกฤษนั้น นอกจากจะแปลว่าคงที่แล้ว ยังมีอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งแปลว่า “ได้รับการแก้ไขแล้ว” ด้วย
นั่นเพราะรายจ่ายคงที่บางรายการ อาจจะสามารถปรับเปลี่ยนได้เหมือนกัน เช่น
จะเห็นว่าหากเรา “ทำการแก้ไข” รายจ่ายคงที่ให้ปรับลดลงได้นั้น ผลลัพธ์ของมันจะเกิดขึ้นซ้ำในเดือนถัดๆ ไปด้วย
ซึ่งแม้จะทำได้ยาก แต่ก็อาจจะช่วยลดรายจ่ายลงได้แบบเห็นผลทีเดียวครับ
บทสรุป
จากแนวทางที่ผมได้เล่าให้ทราบไปทั้งหมด จะเห็นว่าการปรับลดค่าใช้จ่ายทุกประเภท ล้วนต้องใช้ความพยายามแทบทั้งสิ้นนะครับ
แต่ด้วยสถานการณ์ที่ความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้ การบริหารรายรับรายจ่ายให้มีกระแสเงินสดคงเหลือไว้กับตัวมากที่สุด ก็เป็นสิ่งที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ “จำเป็นต้องทำ” ครับ
และกระทั่งสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบนั้น ผมเองก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่ “ควรทำ” เช่นกัน
เพราะถึงแม้สถานการณ์ของประเทศไทย ในแง่ผู้ติดเชื้อรายใหม่จะดูดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติในเร็ววัน
สถานการณ์ “ผิดปกติ” ที่เกิดขึ้นนี้อาจจะคงอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ จนอาจจะถึงขั้นกลายเป็น “ความปกติใหม่ (New Normal)” ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปอีกนานเลยก็เป็นได้ครับ
การไม่ประมาทไว้ก่อน จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ผมขออวยพรให้พวกเราทุกคน สามารถผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ด้วยดีนะครับ