การปรับเปลี่ยนประกันสุขภาพฉบับเดิม อาจทำให้ผู้เอาประกันเสียประโยชน์ แต่ในหลายๆ กรณี ก็อาจมีเหตุผลและความจำเป็น
เช่น ประกันฉบับเก่าค่าห้องต่ำเกินไป วงเงินคุ้มครองไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายปัจจุบัน รวมไปถึงการโดนปรับเพิ่มเบี้ยประกัน ทำให้รู้สึกว่าอยากที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นกรมธรรม์ฉบับใหม่
วันนี้พิ้งค์จึงจะมาชวนคิดว่า ก่อนที่เราจะทำประกันสุขภาพเล่มใหม่เพิ่ม หรือทดแทนเล่มเดิมนั้น เราควรพิจารณาอะไรบ้างกันค่ะ
เกณฑ์ในการพิจารณาประกันสุขภาพลำดับแรกๆ คือ ค่าห้อง และวงเงินความคุ้มครองในการรักษาพยาบาล
เราจึงควรนำค่าห้องของโรงพยาบาลที่คาดว่าจะใช้บริการ และ/หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ว่าประกันฉบับใหม่นั้น มีวงเงินส่วนนี้เพียงพอหรือไม่
ส่วนของวงเงินค่ารักษาพยาบาลนั้น ปัจจุบันประกันสุขภาพ จะใช้มาตรฐาน New Health Standard ซึ่งแบ่งวงเงินความคุ้มครองออกเป็น 13 หมวด ที่สามารถเปรียบเทียบประกันสุขภาพของแต่ละบริษัทได้ง่ายขึ้น
เราก็สามารถพิจารณาความคุ้มครองๆ ต่างๆ ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น
ทั้งนี้ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ ประกันสุขภาพส่วนใหญ่มีเบี้ยประกันที่ปรับขึ้นตามช่วงอายุ ดังนั้นควรต้องดูเบี้ยประกันในระยะยาว เปรียบเทียบกับความสามารถในการชำระเบี้ยของเราด้วยค่ะ
บางครั้งเราอาจจะมีโรคเดิม ก่อนการทำประกันเล่มใหม่ เช่น เด็กๆ อาจจะเคยเป็น RSV หรือ โรค มือ เท้า ปาก ผู้ใหญ่อาจจะเคย ผ่าตัดนิ่ว หรือ เนื้องอก
ขั้นตอนของการทำประกันสุขภาพเล่มใหม่ จะต้องแนบประวัติการรักษาย้อนหลัง หรือ แถลงโรคที่ทำมาก่อนการทำประกัน ซึ่งบริษัทประกันใหม่จะเป็นผู้พิจารณาการรับประกัน โดยอาจยกเว้นความคุ้มครองในโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันเล่มใหม่นี้
ดังนั้น เราควรนำข้อมูลส่วนนี้พิจารณาร่วมด้วยว่า ควรยกเลิกกรมธรรม์เล่มเดิมหรือไม่ หรือควรจะคงเล่มเดิมไว้ และทำประกันสุขภาพเพิ่มในส่วนที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่ม
กรณีซื้อประกันสุขภาพผ่านบริษัทประกันชีวิต ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีสัญญาหลักเป็นสัญญาประกันชีวิต และประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติมนั้น
ขอให้คำนึงถึงสัญญาประกันชีวิตหลักว่า ควรมีระยะเวลาความคุ้มครองยาวนาน เช่นคุ้มครองจนถึงอายุ 90 หรือ 99 ปี เพราะหากสัญญาหลักมีอายุสั้น หากสัญญาหลักสิ้นสุดลง สัญญาประกันสุขภาพซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมก็จะสิ้นสุดลงด้วย
หากตัดสินใจที่จะเปลี่ยนประกันเล่มเดิม เป็นเล่มใหม่ จะต้องคำนึงถึงระยะเวลารอคอย ซึ่งระยะเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาหลังจากประกันเล่มใหม่อนุมัติ โดยประกันสุขภาพจะยังไม่คุ้มครอง
ระยะเวลารอคอยนั้นจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญาประกันสุขภาพที่เราทำ แต่โดยทั่วไปแล้ว
ดังนั้น ควรจะตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า ประกันเล่มใหม่มีผลคุ้มครองแล้ว ถึงค่อยยกเลิกประกันเล่มเดิม
หากเป็นกรมธรรม์ที่ทำกับบริษัทประกันชีวิต จะมีสัญญาประกันหลักที่เป็นประกันชีวิต ซึ่งอาจมีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์เหลืออยู่ โดยจะมี 3 ทางเลือกในการจัดการ ได้แก่
ทั้งนี้การเลือกทางเลือกแต่ละแบบนั้น จะต้องคำนึงเพิ่มเติมถึงเงื่อนไขทางภาษีด้วย หากเคยมีการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากประกันฉบับเดิม
การทำประกันเป็นการโอนย้ายความเสี่ยง ที่หากเกิดแล้วความเสียหายสูง โอนย้ายความเสี่ยงนั้นไปยังบริษัทประกัน เปลี่ยนค่าใช้จ่ายที่สูง และไม่แน่นอน ให้เป็นค่าเบี้ยประกัน ที่เป็นรายจ่ายที่แน่นอนและวางแผนได้
ดังนั้นเมื่อเราซื้อประกันไปแล้ว เราควรหมั่นตรวจสอบเป็นระยะ ว่าประกันที่เราทำนั้นครอบคลุมความเสี่ยงในชีวิต หรือค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเพิ่มขึ้นตามอาชีพ หรือ อายุ ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
การหมั่นตรวจสอบเป็นระยะ นอกจากช่วยลดความเสี่ยงแล้ว บางครั้งเราอาจจะพบแบบประกันที่มีความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้น ทันต่อยุคสมัยมากขึ้น ในงบประมาณที่พอเหมาะกับเรา เป็นตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นจากของเดิมที่เราเคยทำมาก่อนหน้า
แต่ต้องเน้นย้ำอีกครั้งว่าการปรับเปลี่ยนประกันสุขภาพฉบับเดิม หากไม่พิจารณาให้รอบคอบนั้น ก็อาจทำให้เราเสียประโยชน์ได้เช่นกัน ดังนั้น สำหรับท่านที่ไม่มั่นใจจึงควรปรึกษากับตัวแทนประกันของท่านก่อนตัดสินใจดำเนินการใดๆ
หรือจะใช้บริการจากนักวางแผนการเงิน Avenger Planner ก็สามารถช่วยวิเคราะห์ และให้คำแนะนำในประเด็นนี้ได้ค่ะ