
เงินหลังเกษียณ : ควรแบ่งกี่ส่วน และแต่ละส่วนจัดการอย่างไร ?
27/04/2025
เผยแพร่เมื่อ : 20 พฤษภาคม 2568
กล่าวกันว่า "การลงทุนระยะยาวจะสร้างความมั่งคั่งได้อย่างมหาศาล ด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้นและเวลา"
แต่การลงทุนระยะยาวนั้น อาจไม่ได้หมายถึงการซื้อและถือทิ้งไว้ แบบไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรเลย
บทความนี้ผู้เขียนอยากชวนมาพิจารณาเรื่อง ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ที่แอบซ่อนอยู่ใน "พอร์ตการลงทุนที่ถูกทิ้งร้าง" ไร้การปรับเปลี่ยนกันค่ะ
เมื่อความเข้าใจผิดนำไปสู่ความสูญเสีย
เรามักได้ยินคำแนะนำว่า
- ลงทุนแล้วอย่าไปปรับเปลี่ยนบ่อยๆ
- ลงทุนระยะยาวแล้วจะรวย
- DCA แล้วปล่อยมันไป
ซึ่งแน่นอนว่าคำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้มีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้น แต่มันก็อาจกลายเป็นดาบสองคมเมื่อนักลงทุนตีความผิดไปว่า
"ซื้อแล้วไม่ต้องทำอะไรเลย"
สถานการณ์ที่คุ้นเคยของคนไทยจำนวนมาก :
- คุณเดินเข้าธนาคาร เจ้าหน้าที่แนะนำกองทุนรวมที่ "กำลังมาแรง"
- คุณซื้อ LTF, ThaiESG หรือ RMF ตามคำแนะนำเพื่อลดหย่อนภาษี
- คุณซื้อกองทุนตราสารหนี้ตามคำชักชวนว่า "ปลอดภัย และได้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก"
- คุณมีกองทุนหุ้นไทย กองทุนหุ้นต่างประเทศ กระจัดกระจายไปหมด
และแล้ว... หลายปีผ่านไปคุณไม่เคยกลับมาดูพอร์ตเลยว่าเป็นอย่างไร หรือ เมื่อดูแล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน ยิ่งเห็นว่าบางกองขาดทุนก็ยิ่งไม่อยากทำอะไร
ค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็น แต่จ่ายแพงกว่าที่คิด
ลองพิจารณาค่าเสียโอกาสที่แอบซ่อนอยู่ในการไม่ปรับพอร์ตลงทุน
1. พลาดโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด
นึกภาพว่าคุณซื้อกองทุนหุ้นไทยในปี 2017 ด้วยความเชื่อว่าประเทศไทยกำลังเติบโต เพราะช่วงนั้นหุ้นไทยก็ปรับขึ้นแรงจริงๆ
แต่หลังจากนั้น ตลาดหุ้นไทยกลับเผชิญกับความผันผวนและให้ผลตอบแทนที่ไม่โดดเด่น ในขณะที่ตลาดหุ้นโลก นำโดยสหรัฐฯ กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งหากคุณลงทุน 100,000 บาทในกองทุนหุ้นไทยทั่วไปในช่วงปี 2017-2024 คุณอาจได้ผลตอบแทนรวมประมาณ 10-11% (เฉลี่ยปีละ 1-2% ) ในขณะที่การลงทุนในกองทุนหุ้นโลกในช่วงเดียวกัน ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 100% (เฉลี่ยปีละ 9-10%)
นั่นหมายความว่าคุณเสียโอกาสไปกว่า 90% หรือเป็นจำนวนเงินเกือบแสน!
2. กองทุนที่เคยดี อาจไม่โดดเด่นอีกต่อไป
วงจรของกองทุนรวมมีความน่าสนใจ เพราะกองทุนที่เคยทำผลงานดีเยี่ยมในอดีต ไม่ได้รับประกันว่าจะทำผลงานได้ดีในอนาคต
คุณอาจถือกองทุนที่เคยให้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2015 แต่ปัจจุบันกลับอยู่ในอันดับท้ายๆ ของตลาด
3. Asset Allocation ที่ไม่เหมาะสมกับเป้าหมายหรือช่วงชีวิต
สมมติว่าคุณเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุ 30 ปี ด้วยสัดส่วน :
- กองทุนหุ้นไทย 70%
- กองทุนตราสารหนี้ไทย 30%
หากปล่อยไว้โดยไม่ปรับเปลี่ยนเลย พอคุณอายุ 55 ปี ใกล้เกษียณ การมีกองทุนหุ้นในสัดส่วนสูงถึง 70% และลงทุนเฉพาะหุ้นไทยอย่างเดียว นอกจากความเสี่ยงของการกระจุกตัวแล้ว อาจทำให้คุณต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดมากเกินไป ในขณะที่คุณมีเวลาน้อยลงในการฟื้นตัวจากภาวะตลาดขาลง เพราะใกล้ต้องใช้เงินตอนเกษียณแล้ว
4. การจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงโดยไม่จำเป็น
กองทุนรวมหลายๆ กองมีค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ที่สูง โดยเฉพาะกองทุน Active Fund ที่อาจเรียกเก็บ ถึง 1.5 - 2.5% ต่อปี
หากคุณไม่ได้ทบทวนว่ากองทุนเหล่านั้นทำผลงานได้คุ้มกับค่าธรรมเนียมหรือไม่ คุณอาจกำลังจ่ายเงินให้ผู้จัดการกองทุนโดยไม่จำเป็น เพราะผลลัพธ์ไม่ได้คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมนั้น
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนระยะยาว
เรามาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันก่อน:
การลงทุนระยะยาว ≠ การซื้อไว้แล้วไม่ทำอะไรเลย
การลงทุนระยะยาวที่ถูกต้องควรหมายถึง:
- มีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนในระยะยาว
- มีแผนการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ที่เหมาะสม
- มีการทบทวนเป็นระยะ (อย่างน้อยปีละครั้ง) และปรับพอร์ตเมื่อจำเป็น
- มีความต่อเนื่องในการลงทุนระยะยาว แต่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนในรายละเอียด ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
วิธีจัดการกับพอร์ตการลงทุนที่ถูกทิ้งร้าง
หากคุณกำลังรู้สึกผิดเพราะมีกองทุนมากมายที่ซื้อไว้แล้วไม่เคยกลับมาดูอีกเลย นี่คือสิ่งที่ควรทำ :
1. สำรวจสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด
รวบรวมข้อมูลทุกกองทุนที่คุณมี ทั้งจำนวนหน่วยลงทุน มูลค่า ณ ปัจจุบัน ประเภทสินทรัพย์ นโยบายการลงทุน และผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา
2. วิเคราะห์ Asset Allocation ที่เป็นอยู่
ตรวจสอบว่าปัจจุบันเงินของคุณกระจายอยู่ในสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง :
- หุ้นไทย / ต่างประเทศ
- ตราสารหนี้ไทย / ต่างประเทศ
- อสังหาริมทรัพย์ (REIT)
- ทองคำหรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ
3. ทบทวนผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุน
เปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) และ/หรือ กองทุนประเภทเดียวกัน (Peers)
กองทุนใดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า Benchmark และ/หรือ ต่ำกว่า Peers ติดต่อกันหลายปี ควรพิจารณาเปลี่ยนเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
4. กำหนด Asset Allocation ใหม่ตามเป้าหมาย
ปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับ:
- เป้าหมายทางการเงิน
- ความเสี่ยงที่รับได้
- อายุและระยะเวลาที่เหลือก่อนใช้เงิน
- ทางเลือกการลงทุนใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น
- ข้อจำกัด และความต้องการอื่นๆ ที่มักจะเปลี่ยนไปตามเวลา
5. ทำการ Rebalancing อย่างสม่ำเสมอ
กำหนดตารางการปรับสมดุลพอร์ต (Rebalancing) อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อรักษาสัดส่วนการลงทุนตามที่กำหนดไว้
6. ปรึกษาเรา Avenger Planner
การวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างเป็นระบบต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์เฉพาะทาง ซึ่งทีมนักวางแผนการเงิน Avenger Planner พร้อมช่วยคุณวางแผนการเงินแบบครบวงจร
- ทั้งการวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนปัจจุบัน
- การจัดสรรสินทรัพย์ใหม่ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย
- การเลือกเครื่องมือการลงทุน
- การวางแผนเกษียณ การวางแผนภาษี รวมถึงเป้าหมายอื่นๆ
โดยจัดทำออกมาเป็น แผนการเงินเฉพาะสำหรับคุณ พร้อมดูแลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทุกบาทของเงินลงทุนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดค่าเสียโอกาสที่อาจเกิดขึ้น
บทสรุป
การลงทุนที่ดีคือการมีแผน และทำตามแผนอย่างมีวินัย โดยมีการติดตามและปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยปละละเลย
ลองคิดถึงพอร์ตการลงทุนของคุณเหมือนสวนดอกไม้หน้าบ้าน ต้องมีการรดน้ำ พรวนดิน ตัดแต่งกิ่ง และบางครั้งก็ต้องถอนวัชพืชออกไป (ขายกองทุนที่ไม่เหมาะสม) แล้วปลูกต้นใหม่ที่เหมาะสมกว่า (ซื้อกองทุนที่มีแนวโน้มดีกว่า)
การปรับพอร์ตไม่ใช่เรื่องของการเก็งกำไรระยะสั้น แต่เป็นการรักษาสมดุลที่ดีสำหรับเป้าหมายระยะยาวของคุณ
จำไว้ว่า ค่าเสียโอกาสไม่เคยมีใบแจ้งหนี้มาเรียกเก็บ มันจึงเป็นต้นทุนที่เรามักมองข้าม แต่ในโลกของการลงทุน มันอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงที่สุดที่คุณจ่ายโดยไม่รู้ตัว
เริ่มวันนี้ ใช้เวลาสักชั่วโมงทบทวนพอร์ตการลงทุนของคุณ และวางแผนการปรับพอร์ตอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวอย่างแท้จริง และหากต้องการความช่วยเหลือ พวกเรา Avenger Planner พร้อมช่วยสนับสนุนเสมอ
คลิกอ่านรายละเอียดที่ Link นี้ได้เลยค่ะ