กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินทุนก้อนใหญ่ตอนเกษียณของหลายๆ คน
จะอุ่นใจกว่าหรือไม่ หากว่าเรารู้ว่า เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นี้เพียงพอ หรือไม่เพียงพอ สำหรับชีวิตหลังเกษียณ
วันนี้พิ้งค์จะพาไปประเมินมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันเกษียณอย่างง่าย เพื่อจะได้ทราบในเบื้องต้นว่า ณ วันเกษียณเราจะมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประมาณเท่าไร เพียงพอแล้ว หรือจำเป็นต้องเตรียมเงินเพิ่มเติมอีก
บทความนี้จะไม่ได้กล่าวถึงส่วนประกอบ และเงื่อนไขของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก จะขอเน้นไปที่ตัวแปรที่จะนำมาใช้ในการคำนวณ และตัวอย่างการคำนวณนะคะ
ก่อนอื่น เราจะต้องหาข้อมูล 10 ข้อมูล เพื่อที่จะมาใช้ในการคำนวณ โดยแบ่งเป็นข้อมูลปัจจุบัน 8 ข้อมูล และข้อมูลที่ต้องสมมติขึ้นมา 2 ข้อมูล ดังนี้ค่ะ
ข้อมูลปัจจุบัน 8 ข้อมูล ได้แก่
โดยพิ้งค์ขอยกตัวอย่าง ข้อ 4. อัตราเงินสะสมของพนักงาน และ ข้อ 5. เงินสมทบของบริษัท มาให้ดู ตามตารางด้านล่างนี้นะคะ
โดยตารางดังกล่าว หากไม่ทราบ ท่านผู้อ่านสามารถสอบถามกับทางฝ่ายบุคคลได้ โดยบางบริษัทอัตราเงินสะสม และเงินสมทบของบริษัท จะเป็นอัตราส่วนคงที่ แต่หลายบริษัท (เช่นในตัวอย่างที่แสดง) เงินส่วนนี้จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอายุงาน
และรูปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่าง ข้อมูล 6. เงินต้นงวดส่วนของสมาชิก และ 7.เงินต้นงวดส่วนของบริษัท ซึ่งจะเป็นยอดรวมระหว่างสองคอลัมน์ โดยดูได้จาก Statement กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของแต่ละท่านค่ะ
พิ้งค์ขอนำภาพตัวอย่างจากเอกสารจริงมาเป็นตัวอย่างค่ะ เราจะนำเงินในช่องยอดเงินรวม (บาท) มาเป็นเงินต้นงวดในไฟล์คำนวณของเราค่ะ
ในส่วนต่อมา จะเป็นข้อมูลส่วนที่ต้องสมมติขึ้นมา 2 ข้อมูล ได้แก่
อัตราการขึ้นเงินเดือน พิ้งค์ขอแนะนำว่า หากไม่แน่ใจว่าควรใช้อัตราการขึ้นเงินเดือนเท่าไร ลองสมมติให้ขึ้นเท่ากับอัตราเงินเฟ้อ คือที่ 3% ต่อปี และอย่าลืมดูว่าในปีหลังๆ เงินเดือนสูงเกินไปหรือไม่ หรือ บริษัทที่เราทำงานอยู่นั้นมีเพดานเงินเดือนหรือไม่ด้วยค่ะ
สมมติฐานผลตอบแทนของการลงทุน ขอให้ลองตรวจสอบดูว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราลงทุนอยู่นั้น ไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด ลองดูข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง และคาดการณ์แนวโน้มไปในอนาคต หรืออาจใช้ตัวเลขคาดการณ์ประมาณ 2% ต่อปี กรณีเลือกนโยบายการลงทุนเป็นตราสารหนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ หรือ 6% ต่อปี กรณีเลือกนโยบายการลงทุนเป็นหุ้นเสียเป็นส่วนใหญ่
เพื่อให้เห็นภาพ พิ้งค์จะขอพาทุกท่านคำนวณโดยใช้เคสตัวอย่างของ คุณสาธิต นะคะ
คุณสาธิตเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
จากข้อมูลข้างต้นนำมาสรุปเป็นตาราง ได้ดังนี้
ต่อมา เราจะเข้าสู่ช่วงที่สำคัญที่สุด นั่นคือการนำข้อมูลมากรอกใน Excel ช่วยคำนวณ
โดยเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel ได้ที่ Link นี้ ค่ะ
เมื่อเปิดไฟล์ Excel จะมีหน้าตาในรูปด้านล่างนี้ ขอให้ดูข้อมูลในชีทที่ชื่อว่า “คุณสาธิต (Original)” ก่อนนะคะ
จะเห็นว่าไฟล์ Excel จะค่อนข้างมีข้อมูลมาก พิ้งค์จึงจะขออธิบายส่วนประกอบสำคัญที่ต้องใช้งานให้ท่านผู้อ่านได้ทราบดังนี้ค่ะ
ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ณ อายุ 60 ปี คาดการณ์ว่ามูลค่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของคุณสาธิต จะเท่ากับ 1,990,973 บาท นั่นเอง
โดยท่านผู้อ่านก็สามารถลองใช้ Excel นี้ประมาณการมูลค่า Provident Fund ของท่านเองได้เลยนะคะ
Excel ช่วยคำนวณนี้ สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างมาก แต่หากมีการปรับแต่งที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้ได้ค่าประมาณการที่ผิดเพี้ยนไปได้มาก พิ้งค์จึงขอเพิ่มข้อสังเกตให้กับทุกท่านดังนี้ค่ะ
หลังจากการคำนวณเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันเกษียณ เรียบร้อยแล้ว พิ้งค์แนะนำว่าอย่าพึ่งหยุดแค่นั้น
ควรนำเงินจำนวนนี้เทียบกับเป้าหมายที่ต้องการ เช่น เป้าเกษียณอายุ ว่าเงินในส่วนนี้เพียงพอสำหรับการใช้หรือไม่ หากเพียงพอแล้วพิ้งค์ก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ
แต่หากไม่เพียงพอ ก็ยังสามารถใช้ Excel นี้เพื่อลองปรับแต่งสมมติฐานต่างๆ ดูเพิ่มเติมได้ เผื่อว่าปรับแล้วจะได้ตัวเลขที่ดีขึ้น และอยู่ในขอบเขตที่พอจะปฏิบัติจริงได้
อย่างในกรณีของคุณสาธิต ก่อนปรับคาดการณ์ว่ามูลค่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของคุณสาธิต จะเท่ากับ 1,990,973 บาท สมมติปรับแผนดังนี้
มูลค่าที่ประมาณการได้ จะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 5,096,561 บาท เลยทีเดียวค่ะ โดยสามารถดูการคำนวณได้ใน Excel ชีท “คุณสาธิต (ปรับแผน)” นะคะ
หรือหากปรับในส่วนของ Provident Fund แล้ว ยังไม่เพียงพอ ทางเลือกการออม และลงทุนเพิ่มเติมเอง เช่น ลงทุนในกองทุน SSF, RMF หรือกองทุนเปิดทั่วไป เพื่อเติมเป้าเกษียณให้เต็มขึ้นก็เป็นสิ่งที่ควรทำนะคะ
พิ้งค์หวังว่าวิธีการประเมินมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้ทุกๆ ท่านที่แวะมาอ่าน มีเครื่องมือในการสำรวจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และขอให้ทุกๆ ท่านประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้นะคะ
และเช่นเคย หากยังไม่มั่นใจว่าจะคำนวณหรือวางแผนเรื่องนี้อย่างไรดี ก็สามารถใช้บริการนักวางแผนการเงินจากทีม Avenger Planner ได้ค่ะ