หลายคนคงเคยได้ยินว่า หลังเกษียณต้องมีเงินอย่างน้อย 10 ล้าน บ้างก็ว่า 20-30 ล้าน หรืออาจจะมากกว่านั้น ถึงจะพอใช้หลังเกษียณ
ได้ฟังอย่างนี้ ก็อาจเกิดความท้อใจ ว่าจะไปหาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากที่ไหน
บทความนี้จึงมาสรุปแหล่งเงินทุนเพื่อการเกษียณอายุให้ทุกท่านได้รับทราบ ซึ่งบางส่วนเป็นสวัสดิการจากการทำงาน/จากภาครัฐฯ ที่จูงใจให้ออมเงินสำหรับใช้ในยามเกษียณ และบางส่วนเป็นแหล่งเงินออมภาคสมัครใจที่สามารถเลือกออมได้เองค่ะ
เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายชดเชยให้แก่ลูกจ้างอันเนื่องมาจากการเลิกจ้าง ซึ่งรวมถึงการเกษียณอายุของลูกจ้างด้วย ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เป็นทุนเกษียณส่วนหนึ่งได้ ซึ่งจำนวนเงินชดเชยจะได้เท่าไรนั้น สามารถตรวจสอบได้จากตารางด้านล่างนี้
อนึ่ง เงินชดเชยฯ ที่ได้รับ จะถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ด้วย
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม จะมีสิทธิได้รับเงินชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
โดยที่เกณฑ์ในการรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม
อ่านเพิ่มเติม ว่าเงินบำนาญชราภาพได้รับอย่างไรและได้รับเท่าไร ได้จาก บทความนี้
สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพรับราชการ เมื่อเกษียณอายุหรือพ้นสมาชิกภาพ
โดยเงินบำเหน็จคือเงินก้อนที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นสมาชิกภาพซึ่งคำนวณจากเงินเดือนสุดท้ายคูณอายุราชการ ส่วนเงินบำนาญคือเงินที่จ่ายเป็นรายเดือนไปจนตลอดชีวิต ซึ่งคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้
เป็นสวัสดิการเพื่อการเกษียณอีกอย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพรับราชการ (เฉพาะข้าราชการ 12 ประเภท) โดยข้าราชการที่บรรจุก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 จะสามารถเลือกสมัครเข้าเป็นสมาชิก กบข. ได้ ส่วนข้าราชการที่บรรจุหลังวันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนจะต้องเป็นสมาชิก กบข.
เมื่อสมาชิก กบข. เกษียณอายุ หรือออกจากราชการด้วยเหตุสูงอายุ (อายุตัว 50 ปีขึ้นไป) เงินก้อน กบข. ที่ขอรับคืนจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้ไปคำนวณรวมเงินได้เพื่อเสียภาษี
มีลักษณะคล้ายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่เป็นโครงการการออมภาคสมัครใจสำหรับลูกจ้าง/พนักงาน ภาคเอกชน หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
เมื่อเกษียณอายุ (สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลาออกจากงานตอนอายุ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่อง) จะสามารถนำเงินออกจากกองทุนโดยได้รับการยกเว้นภาษี
อ่านเพิ่มเติม วิธีการประเมินมูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันเกษียณด้วยตนเอง ได้ที่ บทความนี้
เป็นรูปแบบการออมภาคสมัครใจ ที่เป็นทางเลือกให้ประชาชนได้มีการออมเงินในระยะยาวเพื่อใช้จ่ายเมื่อเกษียณอายุ นอกเหนือจากการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งอาจจะมีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตในช่วงหลังจากเกษียณอายุ โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจให้กับประชาชน
เงื่อนไขการลงทุนใน RMF : สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้โดย
เงื่อนไขการขายคืน RMF : เพื่อไม่ต้องเสียภาษีเมื่อขาย
อ่านเพิ่มเติม ว่า RMF สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร และเหมาะกับใครได้ที่ บทความนี้
เป็นรูปแบบการออมแบบสมัครใจ โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวให้กับประชาชน และยังให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย (เบื้องต้นสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2567 หลังจากนี้อาจต้องรอภาครัฐกำหนดอีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร)
เงื่อนไขการลงทุนใน SSF : สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้โดย
เงื่อนไขในการขายคืน SSF : เพื่อไม่ต้องเสียภาษีเมื่อขาย
อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ SSF ในเชิงลึกได้ที่ บทความนี้
นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า คนขับแท็กซี่ พ่อบ้าน แม่บ้าน บุคคลรับจ้างทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินบำเหน็จ-บำนาญจากรัฐหรือนายจ้าง (เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ก็สามารถมีแหล่งเงินออมในลักษณะคล้ายกันนี้ได้ ผ่านการออมใน กอช.
โดยสมาชิกจะต้องส่งเงินสะสมไม่น้อยกว่า 50 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี หลังจากนั้นรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ภายในสิ้นเดือนถัดไป (เงินสะสมและเงินสมทบจะปรับเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ)
และเมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินในรูปแบบเงินบำนาญรายเดือนจากรัฐบาล แต่หากลาออกจากการเป็นสมาชิกก่อนอายุ 60 ปี จะได้รับเงินเฉพาะส่วนที่สะสมไว้เท่านั้น
สำหรับคนที่ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แบบบำนาญ หรือแบบควบการลงทุน (Unit-Linked)
ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งเงินทุนเพื่อการเกษียณอายุได้เช่นกัน
องค์กรของรัฐหรือเอกชนหลายแห่งมีสหกรณ์ออมทรัพย์ภายในองค์กร ผลิตภัณฑ์การเงินของสหกรณ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
สำหรับทุนเรือนหุ้นสหกรณ์ฯ ก็ถือเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการเกษียณได้เช่นกัน การเติบโตของมูลค่าหุ้นสหกรณ์มาจาก เงินลงทุนใหม่จากการซื้อหุ้นเพิ่มในทุกๆ เดือนเป็นหลัก แต่เนื่องจากผลตอบแทนของหุ้นสหกรณ์ จะออกมาเป็นเงินปันผลรายปี ดังนั้น หากสามารถนำเงินปันผลที่ได้มา กลับไปลงทุนต่อ (Reinvestment) จะช่วยให้มูลค่าพอร์ตเติบโตได้มากกว่าการนำเงินปันผลออกไปใช้จ่าย
แต่ถึงแม้สหกรณ์ฯ จะมีข้อดี แต่ก็ยังมีข้อควรระวังเช่นกัน เช่น ความโปร่งใสในการบริหารงาน แนวโน้มอัตราเงินปันผลที่อาจลดลง เป็นต้น ดังนั้นจึงควรกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ ด้วย เช่น หุ้นสามัญ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังมีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้หลังเกษียณได้อีก เช่น
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือแหล่งเงินทุนเพื่อการเกษียณ ที่สรุปมาให้ทุกคนได้ทราบนะคะ เมื่อทราบแล้ว อยากเชิญชวนดังนี้ค่ะ
ส่วนใครที่ไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่า
ก็สามารถปรึกษานักวางแผนการเงิน บลป. Avenger Planner ได้นะคะ พวกเราให้บริการวางแผนเกษียณแบบครบวงจร และแนะนำได้ครอบคลุมสินทรัพย์/ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมไปถึงแนะนำเรื่องการปรับแต่งสวัสดิการต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดได้ด้วย
ศึกษารายละเอียดของ บริการวางแผนเกษียณอายุ ของพวกเราได้ที่ Link นี้ เลยค่ะ บริการนี้เป็นบริการฟรีด้วยนะคะ อยากเชิญชวนให้มาใช้บริการกันเยอะๆ และยิ่งเริ่มได้ตั้งแต่อายุน้อย จะยิ่งดีมากๆ ค่ะ