ในการวางแผนการเงินนั้น เรามักจะวางแผนโดยมีสมมติฐานว่า จะต้องลงทุนได้ “% ผลตอบแทนต่อปี” เป็นเท่าไร จึงจะบรรลุเป้าหมายได้ จากนั้นก็มักจะใช้วิธีการทยอยลงทุนเพิ่มเป็นประจำแบบ Dollar-Cost Averaging หรือ DCA เพื่อดำเนินการให้ได้ตามแผน
แต่เมื่อลงทุนจริงไปแล้วนั้น เราจะทราบได้อย่างไรว่า % ผลตอบแทนต่อปี “ที่เราได้รับจริง” เป็นเท่าไร จะสามารถใช้ตัวเลขผลตอบแทนที่แสดงในเว็บไซต์หรือแอพ ของ Platform การลงทุนต่างๆ มาตอบเลยได้ไหม ?
คำตอบคือ ไม่สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวได้ เพราะไม่ได้สะท้อนผลตอบแทนแบบ DCA ได้เหมาะสม
ไม่เหมาะสมอย่างไร ลองมาพิจารณาจากตัวอย่างนี้กันนะคะ
สมมติว่าตลอดทั้งปีที่ 1 นี้ เราทยอยลงทุนแบบ DCA จำนวน 5,000 บาท ทุกวันที่ 25 ของเดือน เป็นจำนวน 12 ครั้งตลอดทั้งปี ต้นทุนรวมที่เราใส่เข้าไป จะเท่ากับ 5,000 x 12 = 60,000 บาท
หาก ณ สิ้นปีที่ 1 นี้ พอร์ตเราปรับตัวขึ้นเป็น 63,000 บาท ระบบของ Platform การลงทุน จะคำนวณว่าเรามีกำไรทั้งสิ้น 63,000 – 60,000 = 3,000 บาท ซึ่งคำนวณมาจากสูตรนี้
ผลตอบแทน = มูลค่าพอร์ตปัจจุบัน – ต้นทุนรวมที่ใส่เข้าไป
ซึ่งตัวเลขผลตอบแทนที่มีหน่วยเป็น “บาท” นี้เป็นตัวเลขที่ถูกต้องแล้วนะคะ เพราะสะท้อน “ส่วนเพิ่ม” ที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินลงทุนจริงๆ
แต่ตัวเลขที่จะไม่ถูกต้องนัก คือตัวเลข % ผลตอบแทน เพราะระบบจะคำนวณ % ผลตอบแทนออกมาเป็น +5.00% ซึ่งคำนวณมาจากสูตร
% ผลตอบแทน = (มูลค่าพอร์ตปัจจุบัน – ต้นทุนรวมที่ใส่เข้าไป) / ต้นทุนรวมที่ใส่เข้าไป
ในที่นี้คือจะคำนวณได้ว่า (63,000 – 60,000) / 60,000 = 0.05 หรือคิดเป็น % ได้เท่ากับ +5.00%
% ผลตอบแทน ดังกล่าวไม่เหมาะสมอย่างไร ?
คำตอบหลักๆ คือ เพราะวิธีการคำนวณแบบนี้ มองเงินลงทุนทุกก้อนเสมือนว่าลงทุนในเวลาเดียวกัน ณ ต้นปีที่ 1 เลย
ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เงินถูกทยอยนำเข้าลงทุนห่างกันทีละเดือน เงินก้อนแรกทำงานสร้างผลตอบแทนมานานแล้ว ส่วนเงินก้อนท้ายๆ ยังทำงานสร้างผลตอบแทนได้เพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ในปีที่ 2 นี้ สมมติว่าเรายังลงทุนแบบ DCA ต่อเนื่อง เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 25 เป็นจำนวน 12 ครั้งตลอดทั้งปีเช่นเดิม ต้นทุนรวมในปีที่ 2 นี้ ก็จะเป็นเงิน 5,000 x 12 = 60,000 บาท
ซึ่งต้นทุนรวมของทั้งสองปี จะรวมกันเป็น 60,000 + 60,000 = 120,000 บาท
หาก ณ สิ้นปีที่ 2 นี้ มูลค่าพอร์ตเรา ปิด ณ สิ้นปี เท่ากับ 125,000 บาท
ระบบของ Platform การลงทุน จะคำนวณว่าเรามีกำไรเป็นบาททั้งสิ้น 125,000 – 120,000 = 5,000 บาท ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง เพราะเราใส่เงินไป 120,000 บาท จริง ดังนั้นการที่พอร์ตโตขึ้นเป็น 125,000 บาท ก็แปลว่ากำไร 5,000 บาท
แต่ตัวเลขที่จะมีปัญหาคือตัวเลข “% ผลตอบแทน” เพราะเมื่อคำนวณด้วยสูตรเดิม คือ
% ผลตอบแทน = (มูลค่าพอร์ตปัจจุบัน – ต้นทุนรวมที่ใส่เข้าไป) / ต้นทุนรวมที่ใส่เข้าไป
จะได้ว่า
% ผลตอบแทน = (125,000 – 120,000) / 120,000 = 0.0417 หรือ +4.17%
% ผลตอบแทน ดังกล่าวไม่เหมาะสมอย่างไร ?
สำหรับตัวเลข % ผลตอบแทนในปีที่ 2 นี้ จะมีปัญหาคล้ายกันกับปีแรก นั่นคือ วิธีการคำนวณแบบนี้ไม่ได้คำนึงถึงเวลา ว่าเงินลงทุน 120,000 บาทที่อยู่ในพอร์ตนั้น เข้ามาในเวลาที่ต่างกัน บางก้อนลงทุนมาแล้วตั้งแต่ปีที่ 1 บางก้อนเพิ่งใส่มาต้นปีที่ 2 และบางก้อนเพิ่งใส่มาช่วงปลายปีที่ 2
และตัวเลขในปีนี้ยังมีปัญหาเพิ่มขึ้นคือ
ซึ่งตัวเลข % ผลตอบแทนในปีถัดๆ ไป ก็จะมีปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ด้วยเช่นกันค่ะ
วิธีคำนวณ % ผลตอบแทนการลงทุนแบบ DCA ที่เหมาะสมนั้น จะต้องมีคุณสมบัติหลัก 2 ประการคือ
ซึ่งวิธีดังกล่าวนั้นในทางทฤษฎีการเงินแล้ว จะใช้การคำนวณที่เรียกว่า Dollar-Weighted Return หรือมักจะรู้จักกันในชื่อเทคนิคการคำนวณว่า Internal Rate of Return (IRR)
ซึ่งวิธีการคำนวณนี้จะมีการคำนึงถึงการเพิ่มหรือถอนเงินออกระหว่างปี ทำให้เหมาะกับวิธีลงทุนแบบ DCA ที่มีการทยอยลงทุนอยู่เรื่อยๆ
และเทคนิคการคำนวณที่จะแชร์ในบทความนี้ ยังรองรับกรณีที่ เงินลงทุนในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน และ กรณีที่มีการเพิ่มการลงทุน หรือ เว้นการลงทุนเป็นบางเดือน อีกด้วย
โดยจะเริ่มต้น จากการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนจะเริ่มคำนวณ ดังนี้ค่ะ
จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างเป็นตารางข้อมูลใน Excel ตามรายละเอียดด้านล่าง ซึ่งจะสมมติให้ปีแรกที่ลงทุนเป็นปี 2001 ส่วนปีต่อไปเป็นปี 2002
โดยเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel เพื่อใช้ศึกษาประกอบการอ่านบทความนี้ได้ที่ Link นี้ ค่ะ
โดยจากการกรอกข้อมูลในรูปข้างต้นนั้น มีข้อสังเกตดังนี้ค่ะ
และจุดที่เป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการคือค่า IRR ในเซลล์ F17 นั้น เราจะกรอกสูตรด้านล่างนี้เข้าไป
=XIRR(values,dates,[guess])
เมื่อกรอกรวมกันจะได้ว่า
=XIRR(F3:F15,B3:B15)
ซึ่งเมื่อ Enter จะได้คำตอบเป็น 10.71% ต่อปี ตามที่แสดงในรูปนั่นเองค่ะ
จะเห็นว่าค่า 10.71% ต่อปีที่คำนวณมาได้นี้ จะสูงกว่าค่า 5.00% ที่แสดงในระบบของ Platform การลงทุน ณ สิ้นปีที่ 1 นั่นก็เพราะวิธี IRR มีการคำนึงถึงเรื่องจังหวะเวลาที่ใส่เงินเข้าไปแล้ว
ตัวเลขของ Platform ที่แสดง 5% นั้น เพราะคำนวณเสมือนว่าเงินทั้ง 60,000 บาท ลงทุนตั้งแต่ต้นปี ทำให้เมื่อได้กำไรมา 3,000 บาท จะถูกเอาไปเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว จึงได้เลขที่ต่ำ (เสมือนใช้เงินเยอะกว่า เพื่อสร้างผลตอบแทนค่าเดียวกัน)
ส่วนตัวเลข IRR 10.71% นั้น จะมีการคิดว่า กำไร 3,000 บาทนั้น ไม่ได้สร้างจากเงินทั้ง 60,000 บาทในคราวเดียว แต่บางส่วนสร้างจากทุนที่ใส่เข้ามาก้อนแรกๆ ช่วงต้นปี ซึ่งเป็นเงินไม่มาก พอคำนวณเป็น % แล้ว จึงได้ค่าที่สูงกว่า (เสมือนใช้เงินน้อยกว่า เพื่อสร้างผลตอบแทนค่าเดียวกัน)
โดยก็จะกรอกข้อมูลคล้ายๆ กับที่กรอกในปีที่ 1 แต่มีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
ซึ่งในปีที่ 2 นี้จะได้ค่า IRR ออกมาที่ 2.19% ซึ่งค่านี้เราจะหาดูจากเว็บไซต์และแอพของ Platform การลงทุนไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีแสดงเฉพาะผลตอบแทนที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มต้นลงทุน
โดยสรุป จากตัวอย่างทั้ง 2 ปีข้างต้น จะพบว่าพอร์ตนี้ได้ผลตอบแทนแบบ IRR ปีแรก เท่ากับ +10.71% ส่วนปีที่สองเท่ากับ +2.19% ซึ่งเราก็สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าว ในการติดตามและประเมินผลการลงทุนของตนเองได้เบื้องต้น ว่าพอร์ตทำผลงานได้ดี/ไม่ดีอย่างไร
การคำนวณ % ผลตอบแทนด้วยวิธี Dollar-Weighted นี้ ก็มีบางเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เช่น
จากข้อจำกัดข้างต้น ทำให้ในการวัดผลตอบแทนเพื่อประเมินความสามารถของพอร์ตหรือของกองทุน เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานและดัชนีชี้วัดต่างๆ จะยังต้องคำนวณผลตอบแทนด้วยวิธีอื่น ที่สามารถนำไปเทียบเคียงกันได้ เช่น ต้องกำจัดอิทธิพลของเงินเข้า/ออก ให้หมดไป ซึ่งก็จะมีวิธีเฉพาะต่างหาก เรียกว่าวิธี Time-Weighted Return
ส่วนค่า Dollar-Weighted Return หรือ IRR ในบทความนี้ เราก็คำนวณแยกต่างหาก เพื่อให้ทราบผลตอบแทนที่แท้จริง ซึ่งจะรวมเอาทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกันหมด ได้แก่
ซึ่งสำหรับ บลป. Avenger Planner นั้น พวกเราเองก็เลือกใช้วิธีการคำนวณ ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น ในการทำสรุปผลตอบแทน รีวิวพอร์ตให้กับลูกค้าในทุกปี เราก็จะใช้วิธี Dollar-Weighted Return เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบผลตอบแทนที่แท้จริง ซึ่งรวมผลทุกอย่างไว้แล้ว
ส่วนในการคำนวณเพื่อประเมินผลการลงทุนของ Model Portfolio และ Qualified Fund List ของทีม ซึ่งต้องมีการนำไปเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดต่างๆ ก็จะเลือกใช้วิธี Time-Weighted Return นั่นเองค่ะ
หลังจากคำนวณกันแล้ว เพื่อนๆ ได้รับผลตอบแทนที่แท้จริง จากการลงทุนแบบ DCA เป็นเท่าไรกันบ้างคะ ?
ถ้าคำนวณแล้วยังไม่มั่นใจในคำตอบ หรืออยากมีนักวางแผนการเงิน เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยให้คำแนะนำทั้งเรื่องการเงินทั่วไป และการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนแบบ DCA ในบทความนี้ ก็สามารถติดต่อใช้บริการกับทาง Avenger Planner ได้เลยนะคะ
บริการของพวกเราเป็นบริการฟรี ที่ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายในการทำแผนการเงินเพิ่มเติม เพราะพวกเราได้ส่วนแบ่งรายได้จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ อยู่แล้ว จึงเปิดกว้างให้ทุกๆ คนเข้ามาใช้บริการได้ โดยไม่ต้องนำเรื่องค่าใช้จ่ายมาเป็นอุปสรรคในการใช้บริการค่ะ หากสนใจสามารถคลิกที่ Banner ด้านท้ายบทความ เพื่อศึกษารายละเอียดได้เลยนะคะ
ขอให้ทุกคนมีพอร์ตที่เขียวขจี ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังกันทุกคนค่ะ
ปล. ในไฟล์ Excel ที่ดาวน์โหลดไป เพื่อนๆ สามารถใช้ Sheet ที่สามที่ชื่อว่า “สำหรับนำไปประยุกต์ใช้งาน” เพื่อนำไปใช้เป็น Template ตั้งต้นในการคำนวณ IRR ของตัวเองได้นะคะ จะมีการกรอกข้อมูลเป็นตัวอย่างไว้เบื้องต้น ในกรณีที่มีการขายและรับเงินปันผลระหว่างปี รวมถึงกรณีที่มีเงินลงทุนเพิ่ม นอกเหนือจากแผน DCA ปกติ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ
หมายเหตุ : บทความนี้ได้รับคำแนะนำ ตรวจทาน และ ร่วมแก้ไข โดย คุณศักดา สรรพปัญญาวงศ์ CFP®